กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/633
ชื่อเรื่อง: บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ จัดการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE ROLE OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN PROMOTING THE USE OF LOCAL WISDOM TO LEARNING MANAGEMENT AS PERCEIVED BY THE TEACHERS UNDER CHUMPHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูศักดิ์ เอกเพชร
สมคิด นาคขวัญ

ปรัชญา กาดีโลน
คำสำคัญ: บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษายัง ไม่สามารถทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ผู้บริหารสถานศึกษาและครูบางส่วนยังขาดความเข้าใจในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ประชากรที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 1,425 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกำหนดสัดส่วนเป็นขนาดโรงเรียนแล้วสุ่มอย่างง่าย จำนวน 586 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 0.84 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบ พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาและครูที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้ายด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยครูผู้สอนที่สอนในสถานศึกษาขนาดกลาง มีการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษามากกว่าครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ และน้อยกว่าครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดใหญ่ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัด การเรียนรู้ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสามารถพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาของผู้เรียน
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/633
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
00 Cover-Prachya.pdf313.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
02 Abstract-Prachya.pdf754.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
03 Content-Prachya.pdf748.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
06 Chapter 3-Prachya.pdf628.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
07 Chapter 4-Prachya.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด
08 Chapter 5-Prachya.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด
04 Chapter 1-Prachya.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด
05 Chapter 2-Prachya.pdf22.51 MBAdobe PDFดู/เปิด
10 Appendix-Prachya.pdf6.65 MBAdobe PDFดู/เปิด
09 Reference-Prachya.pdf2.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น