กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/636
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE RELATIONSHIP BETWEEN ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE RESULTS OF INTERNAL SUPERVISION OF SCHOOLS AS PERCEIVED BY THE TEACHER UNDER PHANGNGA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัททิยา ชื่นวิเศษ
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ
ผู้บริหารสถานศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: จากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แนวโน้มค่าเฉลี่ยต่ำลง การวิจัยเรื่องจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ ทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการดำเนินการนิเทศ ภายในของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 1,245 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 291 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการ และผลการดำเนินการ นิเทศภายในของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาสื่อ การเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านวัดประเมินผลและวิจัย การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ ผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายข้อด้าน มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ พบว่า ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ด้านการประเมินผลและรายงานผลการนิเทศ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือ ในการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก และด้านการปฏิบัติการนิเทศ ตามลำดับ ค และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการดำเนินการนิเทศ ภายในโรงเรียน ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา อยู่ในระดับสูง (r =0.575) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นผู้บริหารควรดำเนินการหารูปแบบการนิเทศติดตาม การนำหลักสูตรไปใช้และจัดหา เอกสารประกอบหลักสูตร เพื่อการจัดการเรียนรู้
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/636
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Curriculum and Instruction: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
cover.pdf457.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdf616.91 kBAdobe PDFดู/เปิด
content.pdf750.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf769.71 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf2.89 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf14.57 MBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf4.86 MBAdobe PDFดู/เปิด
reference.pdf3.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น