กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/957
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภาวิณี สีหาพงษ์en_US
dc.contributor.authorสถาพร สังขาวสุทธิรักษ์en_US
dc.contributor.authorโสภณ เพ็ชรพวงen_US
dc.date.accessioned2022-07-25T04:06:53Z-
dc.date.available2022-07-25T04:06:53Z-
dc.date.issued2565-07-22-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/957-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) พัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 3) ประเมินผลการใช้ชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของชุดฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้ชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา จำนวน 25 คน โดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบวัดทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัญหาในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะด้านการพูด ทักษะด้านการอ่าน ทักษะด้านการเขียน และทักษะด้านการฟัง ส่วนความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสา รโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะด้านการพูด ทักษะด้านการฟัง ทักษะด้านการอ่าน และทักษะด้านการเขียน 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า ชุดฝึกอบรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 มีความเห็นพ้องของผู้เชี่ยวชาญกำหนดให้เนื้อหาชุดฝึกอบรมประกอบด้วย (1) ชื่อชุดฝึกอบรม (2) หลักการและเหตุผล (3) คำอธิบายชุดฝึกอบรม (4) จุดมุ่งหมายของชุดฝึกอบรม (5) ระยะเวลาการฝึกอบรม (6) สื่อการฝึกอบรม (7) การประเมินผลการฝึกอบรม (8) คำแนะนำสำหรับวิทยากร (9) กระบวนการฝึกอบรม และ (10) เนื้อหาสาระของชุดฝึกอบรม ชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสม เป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินการใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า ผลการทดสอบความรู้และทักษะ คะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองใช้เท่ากับ 11.72 คะแนน (ร้อยละ 58.6) คะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองใช้เท่ากับ 16.6 (ร้อยละ 83) มีความก้าวหน้าหลังการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมร้อยละ 24.4 โดยมีผลสัมฤทธิ์การทดลองใช้สูงกว่าก่อนการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยามีความพึงพอใจต่อการใช้ฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการพัฒนาชุดฝึกอบรมen_US
dc.subjectทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารen_US
dc.titleการพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูโรงเรียนท่าข้ามวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพรen_US
dc.title.alternativeDevelopment of English for Communication Skills Training Package for Teachers at Thakham Wittaya School under The Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphonen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_adm65 Supawinee.pdf736.87 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น