กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/763
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของครู โรงเรียนบ้านร่าปู อาเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Supportive Learning Environment by Participation of Teachers at Banrapoo School, Ko Lanta District, Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรัส การดี
โสภณ เพ็ชรพวง
นัฏจรี เจริญสุข
คำสำคัญ: การจัดสภาพแวดล้อม
การมีส่วนร่วมของครู
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครู 2) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของครู และ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของครู โรงเรียนบ้านร่าปู อาเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรในโรงเรียน จานวน 20 คน ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู และผู้แทนนักเรียน จานวน 30 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอน การวางแผน การดาเนินการ การสังเกตการณ์และสะท้อนผล จานวน 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านร่าปู อาเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ และ การจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และ การจัดสภาพแวดล้อมทางด้านวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่าสุด 2) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของครู พบว่า โรงเรียนใช้วิธีการปรับปรุงและพัฒนาด้วยการปฏิบัติจริงโดยการมีส่วนร่วมของครูโดยการวางแผน การดาเนินการ การติดตามตรวจสอบ และพัฒนาการปฏิบัติงาน ทั้งด้านหลักสูตรสถานศึกษา สื่อการเรียนการสอน อาคารบริเวณ อาคารเรียนอาคารประกอบ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ การกาจัดขยะ และการจัดเก็บบารุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน 3) ผลการประเมินการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของครู พบว่าผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมเปรียบเทียบระหว่างการจัดกิจกรรมพัฒนาในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 โดยรวมและรายด้านมีผลการพัฒนาสูงขึ้น
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/763
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Charat.pdf428.4 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น