กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/618
ชื่อเรื่อง: ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE 21st CENTURY ADMINISTRRAFIVE SKILLS OF SCHOOL ADMINISTRRAFOVS AS PERCEIVED BY TEACHERS IN SCHOOL UNDER SURAT THANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด นาคขวัญ
ชูศักดิ์ เอกเพชร
กณิษฐา ทองสมุทร
คำสำคัญ: การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การศึกษาในอดีตถึงปัจจุบันสร้างผู้ตามสอนแบบท่องจำ สอนให้เชื่อ คิดเหมือน ๆ กัน ไม่แตกต่าง การศึกษาไทยในอนาคตต้องสร้างคุณภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับ ศตวรรษที่ 21 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ตาม การรับรู้ของครู โดยจำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน ประชากรได้แก่ ครูผู้สอน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,348 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน ได้มา โดยการสุ่มประชากรแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นทักษะด้านการใช้ดิจิตอล อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ดังนี้ ทักษะทางมนุษย์ ทักษะทางเทคนิค ทักษะ ด้านความรู้ความคิด ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะทางความคิดรวบยอด ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การศึกษาและการสอน ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริม ให้ผู้บริหารและครูผู้สอนพัฒนาตนเอง และมีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นการประกัน คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
01 Cover Kanistha.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด
02 Chapter 1 Kanistha.pdf1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด
03 Chapter 2 Kanistha.pdf12.07 MBAdobe PDFดู/เปิด
04 Chapter 3 Kanistha.pdf949.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
05 Chapter 4 Kanistha.pdf2.17 MBAdobe PDFดู/เปิด
06 Chapter 5 Kanistha.pdf1.72 MBAdobe PDFดู/เปิด
07 Reference Kanistha.pdf23.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น