กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1045
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ในเขตจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Adaptation of the Administrative Officials in Chumphon Province for the Implementation of the Subdistrict Council and Administrative Organization Act of 1994 (2537) to Edition 7 of 2019 (2562 B.E.)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนมน รักนุ่ม
อมร หวังอัครางกูร
ธุวพล ทองอินทราช
คำสำคัญ: การเลือกตั้งท้องถิ่น
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล
วันที่เผยแพร่: 1-ธัน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 (พระราชบัญญัติฯ) 2) ศึกษาการปรับตัวของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพรต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฯ ภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอในรูปแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบัญญัติของพระราชบัญญัติฯ ได้บัญญัติถึงรูปแบบการกระจายอำนาจในการปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ใน 3 ประเด็น คือ (1) การแก้ไขจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (2) การแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการกระทำอันต้องห้ามของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และ (3) การแก้ไขเขตเลือกตั้ง และการได้มาซึ่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 2) การปรับตัวของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ ประเด็นที่ 1 การแก้ไขจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ลดลงเหลือเพียงเขตเลือกตั้งละ 1 คน พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการปรับลดจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพราะมีภาระงานที่ค่อนข้างหนัก ประเด็นที่ 2 การปรับเพิ่มอายุของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ประเด็นที่ 3 การแก้ไขเขตเลือกตั้ง และการได้มาซึ่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การกำหนดให้ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่ใดก็ได้ในตำบลนั้น ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้สมัครมากขึ้น 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฯ พบว่า ผู้บริหารทั้งหมดสามารถปรับตัวและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯ ในการลงสมัครรับเลือกตั้งที่ผ่านมาได้อย่างไรก็ตามควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เขตเลือกตั้ง และการได้มาซึ่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีสัดส่วนที่สอดคล้องกับจำนวนประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้ง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้แทนในการสะท้อนความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1045
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is POL66 Rattanamon.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น