กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/979
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลวิจิตรา อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Teachers in Learning Management to Enhance Writing Skills of Preschool Students at Wijitra Kindergarten, Mueang District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชชภา บุญเหมือน
บรรจง เจริญสุข
ญาณิศา บุญจิตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาครู
การจัดการเรียนรู้
ทักษะการเขียน
เด็กปฐมวัย
วันที่เผยแพร่: 12-ตุล-2565
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาความรู้และติดตามผลในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and Mctaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนอนุบาลวิจิตรา จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบนิเทศติดตาม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนให้กับนักเรียนมีรูปแบบไม่หลากหลาย และขาดความน่าสนใจ ทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากครูผู้สอนเพิ่งเข้ามาปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่มีประสบการณ์ด้านการสอน และยังไม่ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งเป็นพื้นฐานด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง 2) การพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และดำเนินการนิเทศติดตามหลังการฝึกอบรม ทั้งนี้ผลการพัฒนาครูจากการทำแบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูมีระดับความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังการฝึกอบรม อีกทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบนิเทศ ติดตามการพัฒนาครูโดยรวมครูมีความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน และด้านแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลการนิเทศภายในแบบประเมินการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลวิจิตรา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกเป็นรายด้านต่อการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถเรียงลำดับความพึงพอใจในแต่ละด้านได้ดังนี้ ความพึงพอใจด้านเนื้อหา รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านวิทยากร ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ ลำดับสุดท้าย คือ ความพึงพอใจด้านสถานที่และระยะเวลา และการนิเทศภายในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อแยกเป็นรายด้าน สามารถเรียงลำดับความพึงพอใจในแต่ละด้านได้ดังนี้ ความพึงพอใจด้านวิทยากร รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจด้านเนื้อหา และลำดับสุดท้าย คือ ความพึงพอใจด้านสถานที่และระยะเวลา
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/979
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is-adm-Ratchapa-65.pdf779 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น