กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/898
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจีราวุฒ ก๊กใหญ่en_US
dc.contributor.authorชูศักดิ์ เอกเพชรen_US
dc.contributor.authorนัฎจรี เจริญสุขen_US
dc.date.accessioned2022-01-06T03:25:05Z-
dc.date.available2022-01-06T03:25:05Z-
dc.date.issued2565-01-06-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/898-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อ มัลติมีเดียสร้างสรรค์ 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ และ 3) เพื่อติดตามผลความ พึงพอใจ การพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and Mctaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านควนม่วง จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความต้องการ แบบทดสอบความรู้ความ เข้าใจ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบนิเทศติดตาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษา ความต้องการการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความต้องการตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตัดต่อวีดีโอโดยใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ VN ด้านการตัดต่อวีดีโอโดยใช้โปรแกรม Coral video Studio ด้าน หลักการ ทฤษฎีและทักษะในการจัดทำสื่อวีดิทัศน์ ด้านการจัดทำภาพอินโฟกราฟิก โดยใช้โปรแกรม Microsoft power point และด้านความรู้และทักษะในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย 2) ผลการพัฒนาความรู้โดยการอบรมพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้าง ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ก่อนและ หลังอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนามีค่ามากกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการ พัฒนาทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ พบว่า ครูมีการนำทักษะไปใช้ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย มีคุณภาพอยู่ใน ระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านวิทยากร ด้านสถานที่และระยะเวลา ด้านความรู้ความเข้าใจของ เนื้อหาวิชา ด้านเนื้อหา ทักษะและสื่อประกอบการบรรยาย และด้านการนำความรู้ไปใช้en_US
dc.description.sponsorshipคณะครุศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการพัฒนาครูen_US
dc.subjectเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียen_US
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษาen_US
dc.titleการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่en_US
dc.title.alternativeThe Teacher Development to Enhance the Creating Creative Multimedia Skills of Bankuanmuang School under Krabi Primary Educational Service Area Officeen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_med65_jeerawut.pdf4.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น