กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/892
ชื่อเรื่อง: มาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษคดีอุกฉกรรจ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Monitoring measures of ex-prisoners serious case
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ คงแก้ว
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: ผู้พ้นโทษ
คดีอุกฉกรรจ์
การกำกับติดตาม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษ การคุมประพฤติ และพัฒนาการการกำกับติดตามผู้พ้นโทษ 2) ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามผู้พ้นโทษทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ และ 3) เพื่อเสนอมาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษที่มีประสิทธิภาพในทางป้องกันการหวนกลับมากระทำความผิดซ้ำในประเทศไทย ภายใต้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษ จากการศึกษาพบว่า มาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษคดีอุกฉกรรจ์ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีการตรากฎหมายเพื่อการดังกล่าวขึ้นเป็นการเฉพาะ แต่กระบวนการได้ถูกกำหนดขึ้นภายใต้นโยบายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งการกำหนดว่าผู้พ้นโทษรายใดจะต้องถูกมาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษหรือไม่นั้น ยังคงเป็นไปในลักษณะ “ดุลพินิจ” ประกอบกับ “ระบบการสอบถามความความสมัครใจของผู้พ้นโทษ” เป็นนัยสำคัญ มิได้กระทำใน “ระบบบังคับโดยกฎหมาย” แต่อย่างใด ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีหลักการที่แตกต่างไป กล่าวคือ เป็นไปในระบบบังคับโดยกฎหมาย ซึ่งให้ผู้ได้รับการปล่อยตัว (ผู้พ้นโทษ) ที่ได้เคยกระทำความผิดประเภท Felony มาแล้ว จะต้องเข้าสู่มาตรการการคุมประพฤติผู้กระทำผิดภายหลังปล่อย (Conditions of Supervised Release) ในทุกกรณี โดยระยะเวลาเพื่อการกำกับติดตามผู้พ้นโทษนั้น จะยึดโยงไว้กับระดับความผิด (Class) ของประเภทความผิด Felony ไว้อีกชั้นหนึ่ง สำหรับความผิดชอบในทางปฏิบัติการนั้น กรณีของประเทศไทยยังคงดำเนินการภายใต้การขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เท่านั้น ทำให้ประสบปัญหาเรื่องของกำลังคน งบประมาณและรวมไปถึงภาระพันธกิจของการปฏิบัติราชการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างไปจากการกำกับติดตามผู้พ้นโทษของประเทศอังกฤษ โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการดูแลช่วยเหลือ ค.ศ.2014 ได้มอบหมายและจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการดำเนินการกำกับติดตามผู้พ้นโทษไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้การกำกับติดตามผู้พ้นโทษมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นแล้ว พระราชบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด ค.ศ.1974 ยังได้นำเอาโอกาสทางการทำงานของผู้พ้นโทษมาเป็นแนวทางการคุ้มครองสังคมเพื่อการกำกับติดตามผู้พ้นโทษและการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษไปพร้อมกันด้วย จากผลการศึกษาดังกล่าวเหล่านี้ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนามาตรการกำกับติดตามผู้พ้นโทษในคดีอุกฉกรรจ์ ดังนี้ 1) การตรากฎหมายว่าด้วยมาตรการติดตามผู้พ้นโทษขึ้นเป็นการเฉพาะ 2) การนำระบบบังคับโดยกฎหมายตามรูปแบบของประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นหลักเกณฑ์ในการติดตามผู้พ้นโทษ 3) การสร้างมาตรการเปิดเผยข้อมูลการต้องโทษในการสมัครงาน และ 4) การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับติดตามผู้พ้นโทษโดยตรง
รายละเอียด: การค้นคว้าอิระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/892
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is law adisuk64.pdf6.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น