กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/855
ชื่อเรื่อง: ความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE SURVIVAL OF TRANSPORTATION BUSINESS IN THAI UPPER SOUTH
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นาฏศิลป์ ไชยามาตย์
อรุษ คงรุ่งโชค
คำสำคัญ: ความอยู่รอด
ธุรกิจขนส่ง
ผู้ประกอบการ
ภาคใต้ตอนบนของไทย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินงานของธุรกิจขนส่ง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความอยู่รอดของธุรกิจขนส่ง และ 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ปัจจัยดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นเพื่อนำไปสู่ความอยู่รอดของการประกอบธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล (มีค่าความน่าเชื่อถือได้เท่ากับ 0.907) จากผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยจำนวน 400 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยสรุปผลการวิจัยอย่างเป็นระบบผ่านการใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายสภาพส่วนบุคคลและระดับการให้ความสำคัญต่อปัจจัยการดำเนินงานของธุรกิจขนส่งและปัจจัยบ่งชี้ความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยตัวแปรเพื่อสกัดและจัดกลุ่มคำถามในการได้มาซึ่งตัวแปรอิสระอย่างถูกต้องแม่นยำรวมทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความมีอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยให้ความสำคัญต่อทุกปัจจัยการดำเนินงานของธุรกิจขนส่งในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ปัจจัยด้านรูปแบบการบริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านราคาและข้อตกลงทางธุรกิจ ปัจจัยด้านกระบวนการเข้าถึงลูกค้า และปัจจัยด้านบรรจุภัณฑ์ 2) ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยให้ความสำคัญต่อปัจจัยความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในระดับมากที่สุดเช่นกัน และ 3) ทุกปัจจัยการดำเนินงานดังที่กล่าวข้างต้นมีอิทธิพลโดยตรงและมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความอยู่รอดของธุรกิจขนส่งในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยโดยรวมได้ถึงร้อยละ 93.80 ผลการวิจัยนี้สามารถถูกใช้เพื่อที่จะพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาธุรกิจขนส่งให้สามารถอยู่รอดในการประกอบธุรกิจขนส่งโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนต่อไป
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/855
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is64_natasin_mba.pdf970.2 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น