กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/824
ชื่อเรื่อง: แนวทางพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู โดยผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สุราษฎร์ธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปณิธิ เจริญรักษ์
คำสำคัญ: ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การพัฒนาครู
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ทักษะการจัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู โดยผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยมี 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน 2,124 คน กลุ่มตัวอย่าง 333 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สุราษฎร์ธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สุราษฎร์ธานี โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำวิชาการ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร และด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวก 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทักษะชีวิตและอาชีพทักษะการจัดการชั้นเรียน และ ทักษะการสร้างชุมชนการเรียนรู้ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครได้แก่ 3.1) ด้านการจัดการชั้นเรียนการเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการชั้นเรียน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการดำเนินการจัดการชั้นเรียนกำหนดให้มีการนิเทศ ติดตาม โดยการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และกำหนด แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการชั้นเรียนไว้ในแผนการดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวางแผน กำหนดนโยบายพัฒนาครูและบุคลากร และวิเคราะห์การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารสนับสนุนการพัฒนาตนเองของครูในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารติดตาม กำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของครูเปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิควิธีการนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียน 3.3) ด้านการสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กำหนดเป้าหมายและวิธีการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้จัดทำคู่มือกำหนด แนวปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินงานการนิเทศแบบกัลยาณมิตร และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.4) ด้านชีวิตและทักษะอาชีพกำหนดนโยบายส่งเสริมความสามารถของครูจัดการประชุมปฏิบัติการ วิชาการ เน้นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กำกับติดตามการดำเนินงาน และ นำผลที่ได้จากการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไข
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdf8.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น