กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/820
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปิยะวรรณ เวชสุวรรณen_US
dc.date.accessioned2021-03-11T08:50:26Z-
dc.date.available2021-03-11T08:50:26Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/820-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) 2) พัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) และ 3) ประเมินความเหมาะสมในการใช้คู่มือการใช้งานโปรแกรม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) เพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษา ปัญหาการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษาและเจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 366 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ เจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 192 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาคู่มือ ดำเนินการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการลงทะเบียน ด้านการบันทึกรายงานผลการพิจารณา ด้านการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการจัดทำสัญญา และด้านการบริหารสัญญา 2) ผลการพัฒนาคู่มือการใช้ งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) บทนำ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของคู่มือ 2) คำชี้แจงคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ 3) ระบบงานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวปฏิบัติ ครอบคลุมการปฏิบัติงาน 3 ด้าน คือ ด้านการลงทะเบียน ด้านวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและด้านการบันทึก ผลการพิจารณา ภาคผนวก ประกอบด้วยระเบียบและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผลการตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงล าดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการน าไปใช้ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษา และด้านรูปแบบen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.titleการพัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2en_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf33.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น