กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/816
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกษมา ช่วยยิ้มen_US
dc.date.accessioned2021-03-11T08:23:59Z-
dc.date.available2021-03-11T08:23:59Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/816-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครู ในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงาน ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 มีวิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพความสุขในการทำงาน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงาน โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นประเด็นการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ การสร้างความสุขในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จ านวน 111 คน และครูผู้สอน จำนวน 312 คน รวม 423 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความสุขในการทำงาน ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่าสภาพความสุขในการทำงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านความรักในงาน ด้าน ความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านความพึงพอใจในงานและมีองค์ประกอบย่อย 66 องค์ประกอบ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและคร ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า รูปแบบ การสร้างความสุขในการทำงาน ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา องค์ประกอบ และตัวชี้วัดของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา และการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนการสร้างความสุขในการทำงาน ในการนำแนวทางไปใช้ในทำการ กำหนดเป็นองค์ประกอบของร่างรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงาน ของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างความสุขในการทำงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบen_US
dc.subjectองค์กรแห่งความสุขen_US
dc.subjectการสร้างความสุขในการทำงานen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหารและครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2en_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdf14.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น