กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1055
ชื่อเรื่อง: มาตรการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supervision Measures for Persons in Breach of Provisional Release without Bail Security
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิพร ทองจิตร
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ
คำสำคัญ: การปล่อยตัวชั่วคราว
มาตรการบังคับผู้หลบหนี
ไม่มีประกัน
วันที่เผยแพร่: 12-มีน-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน 2) ศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับทางกฎหมายผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน และ 3) หามาตรการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ คำพิพากษาของศาล และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาเรียบเรียงด้วยวิธีการพรรณนาความเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามีความคล้ายคลึงกันในด้านการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหลบหนีหรือไม่มาศาลตามนัด ซึ่งสำหรับสหราชอาณาจักร หากไม่มาศาลตามนัดอาจถูกลงโทษจำคุก และหรือปรับ ส่วนสหรัฐอเมริกา หากไม่มาศาลตามนัดอาจถือว่าบุคคลนั้นได้กระทำละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นความผิดในข้อหาละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลอาจสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ สำหรับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ศาลไม่นิยมการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยการเรียกหลักประกัน แต่จะพิจารณาว่าจะขังหรือจะปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีโดยคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะหลบหนี ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อภัยอันตรายประการอื่น หากไม่เข้ากรณีดังกล่าว ศาลจะปล่อยตัวโดยไม่เรียกหลักประกันแต่อย่างใด แต่จะใช้มาตรการอื่นให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติแทนการเรียกหลักประกันเพื่อป้องกันการหลบหนี 2) ราชอาณาจักรไทยไม่มีมาตรการทางกฎหมายบังคับผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันหลบหนีหรือผิดเงื่อนไข ซึ่งต่างจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดมาตรการบังคับทางกฎหมายสำหรับผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันกระทำผิดเงื่อนไข ถือว่าเป็นความผิดในข้อหาละเมิดอำนาจศาล ส่วนกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส กฎหมายให้อำนาจศาลมีหมายเรียกและควบคุมตัวบุคคลนั้น และ 3) ผู้ศึกษาเสนอมาตรการบังคับผู้หลบหนีระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน โดยการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 (1) กำหนดให้การหลบหนีของผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และให้ผู้หลบหนีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดตามจับกุม และ (2) การหลบหนีในการปล่อยตัวชั่วคราวให้ถือว่าอายุความสะดุดหยุดอยู่ และให้นับอายุความต่อเมื่อจับกุมผู้หลบหนีได้แล้ว
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1055
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is67 Sitthiporn law.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต1.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น