กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1050
ชื่อเรื่อง: การจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health Information Management for the Elderly in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อมรรัตน์ แซ่กวั่ง
คำสำคัญ: สารสนเทศด้านสุขภาพ
พฤติกรรมและช่องทางการรับรู้สารสนเทศ
ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาช่องทางการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านแต่ละอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 19 อำเภอ กำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่างร้อยละ 10 ของจำนวนทั้งหมด จำนวน 477 คน และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 19 อำเภอ หน่วยงานละ 1 คน จำนวน 59 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample) มีการเก็บข้อมูลด้วยชุดแบบสอบถามตามความเห็นเชิงสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสม นำผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี และช่องทางการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยในส่วนของพฤติกรรมการใช้พบว่า มีการสืบค้นและรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ เดือนละ 1-2 ครั้ง โดยสืบค้นและรับรู้สารสนเทศด้านสิทธิการรักษา หรือหน่วยงานที่ช่วยเหลือ ในปัญหาต่าง ๆ ของโรคและส่วนใหญ่จะใช้ช่วงเวลา 06.01-12.00 น. ในการสืบค้นและรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ ปัจจัยทัศนคติที่คอยสนับสนุนพฤติกรรมคือ สภาพแวดล้อมที่สนับสนุน โดยมีห้องครัว/สถานที่ ปรุงอาหารที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะเองในบ้าน และมีเครื่องมืออุปกรณ์ให้ความบันเทิงที่บ้าน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ และด้านอิทธิพลทางสังคม โดยมีคนในครอบครัว พร้อมให้การสนับสนุนเวลา สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้หรือค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นและมีเพื่อนหรือญาติที่พร้อมจะให้เวลา เพื่อช่วยเหลือตอนไม่สบายหรือเจ็บป่วย ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเองอยู่ในระดับดี ซึ่งมีครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น มีสุขภาพจิต และมีความพึงพอใจในชีวิต นอกจากนี้ในส่วนของช่องทางการ (3) รับรู้สารสนเทศพบว่า สื่อโสตทัศน์ประเภทโทรทัศน์และสื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสาธารณสุข/อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีการใช้เป็นช่องทางการรับรู้ระดับมากที่สุด ผลมาจากการศึกษาแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลโดยรวมเป็นระดับมาก แต่เป็นภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนกลไกขององค์กรที่เป็นนามธรรมค่อนข้างสูงผนวกกับหน่วยงานบริการด้านสุขภาพมีการให้บริการสื่อในทุกประเภทในระดับมากคือ สื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทแอปพลิเคชันไลน์ สื่อโสตทัศน์ประเภทสมาร์ทโฟน สื่อบุคคลผ่านทางอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และสื่อสิ่งพิมพ์ผ่านทางลูก/หลาน แผ่นพับ/ใบปลิว/โปสเตอร์ ลำดับต่อไป นักวิจัยพิจารณาร่างแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพ ในส่วนของภารกิจคือ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วย และดูแลตนเองเบื้องต้น โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลายแก่ผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนของผู้สูงอายุ รองลงมาคือ ส่งเสริมสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ โดยการเผยแพร่ข่าวสารด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงจากสื่อต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการสนับสนุนสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพประเภทต่าง ๆ คือ สื่อโสตทัศน์ประเภทโทรทัศน์และสมาร์ทโฟน สื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสาธารณสุข/อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และลูก/หลาน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ/ใบปลิว โปสเตอร์ และหนังสือคู่มือ และสื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ เฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ ผลการประเมินความเหมาะสมร่างแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพพบว่า มีความเหมาะสมโดยมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านระดับมากคือ การส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วย และดูแลตนเองเบื้องต้นโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลายแก่ผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน ของผู้สูงอายุมีระดับมากกว่าอีกด้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนกลไกขององค์กร ส่วนการสนับสนุนสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพประเภทต่าง ๆ อยู่ในระดับมากได้แก่ สื่อบุคคลเหมาะสมระดับมากสูงสุด คือ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการสาธารณสุข/อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และลูก/หลาน ส่วนสื่อระดับมากรองลงมาคือ สื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์กับสื่อโสตทัศน์ ประเภทโทรทัศน์
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:HUMAN: Research Reports

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Health Information Management for the Elderly in Surat Thani Province - 2021.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น