กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1005
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูในการจัดการเรียนสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Teachers in Learning Management by Using Google Apps for Education at Wat Keereewong School under Surat Thani Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธาสินี สุทธินุ้ย
สถาพร สังขาวสุทธิรักษ์
โสภณ เพ็ชรพวง
คำสำคัญ: การพัฒนาครู
การจัดการเรียนการสอน
Google Apps for Education
วันที่เผยแพร่: 20-กุม-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง 2) พัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตผลและการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินความสามารถ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนการสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อใช้จัดการเรียนการสอน ด้านบทบาทผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน และด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครูผู้สอนในการเรียนการสอน 2) การพัฒนาครูในการจัดการเรียนสอนโดยใช้ Google Apps for Education โรงเรียนวัดคีรีวง ดำเนินการโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการ ประเมินความรู้ความเข้าใจ และการนิเทศติดตาม 3) ผลการประเมินการพัฒนาครู พบว่า หลังจากการเข้าร่วมการพัฒนา ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดการเรียนสอนโดยใช้ Google Apps for Education สูงขี้นกว่าก่อนเข้าร่วมการพัฒนา ครูมีความสามารถในจัดการเรียนสอนโดยใช้ Google Apps for Education โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1005
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_adm_suthasinee 66.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา929.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น